เคล็ด(ไม่)ลับ ขับรถตอนกลางคืนอย่างปลอดภัย- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2567          คลิกที่นี่

บทความ

เคล็ด(ไม่)ลับ ขับรถตอนกลางคืนอย่างปลอดภัย



เคล็ด(ไม่)ลับ ขับรถตอนกลางคืน

อย่างปลอดภัย


เคล็ด(ไม่)ลับ ขับรถตอนกลางคืนอย่างปลอดภัย


การขับรถกลางคืน เป็นเรื่องยากสำหรับผู้ขับขี่มือใหม่ แต่ก็เป็นเรื่องที่มือเก๋าเองก็ต้องใช้ความระมัดระวัง เนื่องจากดวงตาต้องมีการเพ่งหรือปรับตัวเพื่อการมองเห็นในสภาวะแสงน้อย การขับรถในเวลากลางคืนจึงอาจทำให้ทัศนวิสัยของผู้ขับขี่ถดถอยลง ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการกะระยะ การจำแนกสี หรือประสาทการมองเห็นรอบด้าน อย่างไรก็ตาม มีหลายวิธีที่จะทำให้ผู้ขับขี่ในเวลากลางคืนสามารถขับขี่ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนออกเดินทางกลางคืน
– ศึกษาเส้นทาง และเช็กสภาพอากาศ เพื่อประเมินความเสี่ยง และคาดการณ์เหตุฉุกเฉินเฉพาะหน้าได้
– เช็กระบบไฟส่องสว่างทุกดวง ทั้งภายในและภายนอกรถ เพราะการขับรถกลางคืนที่รอบข้างไม่มีแสงไฟ แสงสว่างจากไฟรถสำคัญมาก
– หลีกเลี่ยงยาที่ทำให้มีอาการง่วงซึม แม้ว่าตัวยาจะทำให้มีอาการง่วงนอนเพียงแค่เล็กน้อย แต่เมื่อรวมเข้ากับสภาพแวดล้อมมืดๆ ในตอนกลางคืนนั้นจะทำให้เกิดอาการง่วงนอนมากขึ้น
– บันทึกเบอร์โทรแจ้งเหตุฉุกเฉินลงโทรศัพท์ หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินผู้ขับขี่สามารถโทรแจ้งได้ทันที

เคล็ด(ไม่)ลับ! เทคนิคขับรถตอนกลางคืน

ระมัดระวังทางแยกหรือทางเลี้ยวต่างๆ
          ควรชะลอความเร็ว เพราะอาจมีรถพุ่งออกมาโดยไม่สนใจสัญญาณไฟจราจร ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนยามค่ำคืน ควรเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น

สังเกตเส้นทาง มองให้ดี ใช้ความเร็วให้เหมาะสม
          เพราะความสามารถในการมองเห็นระยะทางข้างหน้าจะลดน้อยลง หากเจอโค้ง ทางลาดชัน ให้ปฏิบัติตามป้ายเครื่องหมายจราจรเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่เปิดไฟหน้าไว้ตลอดเวลา และใช้ไฟสูงช่วยเมื่อยามจำเป็น เช่น เส้นทางที่มืดมากจนมองไม่เห็นทางด้านหน้า เป็นต้น

ไหล่ทางพื้นที่อันตราย
          อาจมีรถจอดเสียโดยไม่เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน แนะนำให้ผู้ขับขี่เปิดไฟสูงสลับกับไฟต่ำ เพื่อสังเกตการณ์ด้านหน้า จะช่วยทำให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และหากเป็นรถเราเองที่เสียหรือยางแตก จอดรถให้ชิดไหล่ทางให้มากที่สุด เปิดไฟฉุกเฉินพร้อมวางเครื่องหมายป้ายเตือนฉุกเฉิน

รักษาระยะห่างให้มากกว่าปกติ
          ความสามารถในการกะระยะใกล้-ไกลลดลง เมื่อรถคันข้างหน้าเบรกหรือเลี้ยวกะทันหันอาจจะตั้งตัวไม่ทันจนเกิดการเฉี่ยวชนได้ ควรทิ้งระยะห่างกับรถคันข้างหน้าให้มากเข้าไว้ จะทำให้มีระยะหยุดรถมากขึ้น มีเวลาตัดสินใจแก้ไขเหตุฉุกเฉินเฉพาะหน้าได้อย่างปลอดภัย

หลีกเลี่ยงถอยห่างรถที่มีพฤติกรรมแปลก
          เช่น ขับไม่ตรงเลน/กินเลนถนน ขับส่ายไป-มา หรือขับรถเร็วผิดปกติ เพราะอาจเป็นต้นเหตุให้เราประสบอุบัติเหตุหรือปัญหาได้ หากเห็นถ้าไม่ดีอาจโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ นอกจากจะปลอดภัยแล้วยังมีส่วนช่วยเหลือผู้อื่นอีกด้วย

ระวังสัตว์ข้ามถนน
เมื่อขับผ่านชุมชนในตอนกลางคืน อาจมีสุนัขหรือแมววิ่งตัดหน้ารถ หรือกระทั่งรถมอเตอร์ไซค์ของคนในชุมชนก็อาจโผล่ออกมาตัดหน้าได้ทุกเมื่อ ให้ลดความเร็วลงและมีสมาธิอยู่กับถนนและสภาวะแวดล้อมตอนกลางคืนและที่สำคัญอย่าไว้ใจใครในยามวิกาล! ขณะขับรถกลางคืนแล้วมีคนโบกเรียกขอความช่วยเหลือ ถ้าสังเกตแล้วว่าน่าสงสัยหรือไม่ใช่อุบัติเหตุ อย่าเพิ่งลงไปช่วยเด็ดขาด! ควรโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ เช่น 191 หรือ 1669 เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือจะปลอดภัยที่สุด

การขับรถกลางคืนไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครเลย เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกครั้งที่ขับขี่ต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เตรียมความพร้อมทั้งคนขับและรถ ศึกษาเส้นทางล่วงหน้า อย่าขับรถเพียงคนเดียว ให้คนที่มาด้วยคอยเป็นเพื่อนคุย แต่ถ้าง่วงเกินไป ควรหยุดพัก เพื่อการขับขี่ปลอดภัย
การขับขี่ปลอดภัย
อบรมการขับขี่ปลอดภัย จองได้แล้ววันนี้ สมาชิกรับส่วนลดสูงสุดถึง 300.- จองอบรมตอนนี้

Comments


businessman

โปรโมชัน
อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย

อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย ในราคาสุดคุ้ม! โปรโมชั่นลดสูงสุด 30% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567

บทความล่าสุด
อัปเดตวิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

อัปเดต! วิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศจากกรมสวัสดิการล่าสุด

ประกาศจาก กสร. เรื่องการเทียบเท่าวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

บทความยอดนิยม
อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน,อันตรายจากการทํางาน มีอะไรบ้าง,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก รถโฟล์คลิฟท์ forklift 2564

นายจ้างต้องรู้! กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564

แบ่งปัน
ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai